วิถีชีิวิตความเป็นอยู่ การสร้างที่อยู่อาศัยของชุมชนต่างๆ ในประเทศไทยล้วนแต่สร้างขึ้นเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ เฮินไต หรือการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยของชาวไทใหญ่นั้นมีเอกลักษณ์ มีความสวยงามเหมาะกับวิถีความเป็นอยู่ของท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเราไม่ค่อยเห็นการปลูกบ้านในลักษณะนี้แล้ว เป็นที่น่าเสียดายมาก จะมีแต่บ้านเก่าๆ ที่เจ้าของอนุรักษ์ไว้ ผมนำภาพมาลงไว้เผื่อเราจะช่วยกันอนุรักษ์ให้มันคงอยู่ สำหรับผมแล้วคิดว่ามันเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่เราน่าจะคงไว้ เรามาดูกันครับว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับบ้านจริงๆ แค่ไหน ภาพที่นำลงเป็นบ้านจำลองไว้ให้ศึกษาเรียนรู้ครับ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
ในภาพคือ ศูนย์นิทรรศการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน หรือ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ตั้งอยู่ในบริเวณวัดปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน "โรงเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่น"
ภาพแรกก็เป็นภาพรั้วเลยครับ เราเรียกรั้วชนิดนี้ว่า "โฮ่วาง" รั้วทำจากไม้ไผ่ สานขัดกัน กันสัตว์เลี้ยงจำพวก เป็ดไก่ หมู วัวควายได้ เพราะมีลักษณะรั้วชิดติดกัน แต่ก็ผุพังได้ง่าย สองสามปีก็ผุพังแล้วครับ
ก่อนขึ้นบ้านก็เจอเข้าตีนบันใดบ้าน "โข่งหมา" บ้านไหนเลี้ยงสุนัขไว้ ตรงนี้สุนัขชอบมานอนเฝ้า เราจึงเรียกว่า "โข่งหมา" โข่ง มีลักษณะคล้ายเข่ง แต่ต่ำกว่า ยกพื้นด้วยไม้ หรือดิน หรือปูน
"โขไหล หรือ ขึ้นไหล" คือบันไดบ้านครับ ขั้นบันไดนิยมสร้างไว้เป็นจำนวนเลขคี่ เช่น 3 5 7 9 ครับ
เข่งน่ำ ห้างน้ำ หิ้งน้ำ สร้างไว้บนชานเรือน ไว้ตอนรับแขกผู้มาเยือน หรือเจ้าของบ้านเองก็ดื่มน้ำที่นี่เช่นเดียวกัน เดี๋ยวนี้ไม่นิยมสร้างไว้แล้ว
ตัวเรือนมีลักษณะเป็นเรือนแฝด ต่างระดับตรงห้องครัว หรือ ส่ิองไฟ สร้างลดระดับลงมาจากตัวเรือน ไว้สำหรับหุงหาอาหารเลี้ยงดูสมาชิกในบ้าน
จาน หรือ ชานเรือนครับ สมัยก่อนนำไม้ระแนงมาตีเว้นช่อง แต่นี่เป็นบ้านจำลอง ใช้ไม้ไผ่ปู ผุพังแล้ว แต่เป็นลานเอนกประสงค์สำหรับใช้เป็นที่ตากข้าว พืชผักต่างๆ ถั่วงา เป็นต้น ยามค่ำคืน ออกมานั่งเล่น รับลม สนทนา ดื่มน้ำชากัน ปัจจุบันก็ไม่ค่อยเห็นกันแล้วครับ
เข่งน่ำ อีกมุมหนึ่งครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น